อำนาจหน้าที่
|
หน้าที่และอำนาจของสถานศึกษา
ภารกิจบทบาทอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ตามหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาอย่างมีเอกภาพเช่นเดียวกัน และมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาซึ่งปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 39 ที่ว่า
"มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงสามารถกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณ การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"
การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ เป็นไปตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management: SBM) ซึ่งจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากสถานศึกษาดำเนินงานได้สะดวกมีความคล่องตัว มีอิสระ และมีความเป็นนิติบุคคล รัฐก็จะให้สถานศึกษาดำเนินโดยไม่อยู่ภายใต้ระบบระเบียบบัญชาชี้นำของฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ
ในปี พ.ศ. 2542 มาตรา 39 และ มาตรา 45 และ (6) แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
"เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาควรคำนึง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง"
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล จึงเหมาะกับโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาที่กฎหมายรองรับให้สามารถจัดการกิจการต่างๆ ได้ด้วยตนเองภายใต้นโยบายวัตถุประสงค์ สิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติกฎหมาย กฎและระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของสถานศึกษาไว้ในภาพกว้าง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งต้องใช้อำนาจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นการรองรับและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุผลตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา นอกจากจะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษาซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งกฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลตามคำบังคับของกฎหมาย ได้ต้องอยู่ในกรอบของอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษาเท่านั้น ซึ่งเป็นขอบข่ายหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนมาตรฐานการศึกษา ระบบประเมินผลและการอุดหนุนงบประมาณ ตลอดจนการควบคุมและกำกับดูแลของสถานศึกษาเกี่ยวกับกิจการภายในและภายนอก
ตามมาตรา 39 แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้นำของสถานศึกษาในการทำหน้าที่ไป รวมทั้งการจัดทำบัญชีการเงินในนามของสถานศึกษา การรับงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับมอบหมาย หรือการเสนอแผนบริหารการเงินของสถานศึกษา เป็นต้น ดังนั้น ผู้อำนวยการสถานศึกษาจึงมีฐานะเป็นผู้นำหน่วยนิติบุคคลแต่เพียงผู้เดียว มหาวิทยาลัยที่กำหนดคำบอกหน้าที่อธิการบดีให้เป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยในกิจการทั้งปวง ก็มีฐานะเป็นผู้นำหน่วยนิติบุคคลแต่เพียงผู้เดียว นอกจากกฎหมายเฉพาะ เช่น วรรคหนึ่ง มาตรา 45 วรรคหนึ่ง มาตรา 6 แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ยังได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจและการมอบอำนาจของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้แก่สถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาสถานศึกษามีความอิสระและคล่องตัว
กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 6 และมาตรา 45 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ออกกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2545 เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหาร หรืออำนาจการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ไปยังสถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลและผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นผู้นำหน่วยนิติบุคคล มีการบริหารงานอย่างอิสระ จะบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ เป็นไปตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) ซึ่งจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษามากจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดของบัญญัติของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติงานที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2545 ดังปรากฏตามที่แนบมาพร้อมนี้
|